หากทุกข์ขอให้ทน...เดี๋ยวมันก็ผ่านไป แม้ไม่รู้ว่าเมื่อไหร่ แต่ทุกข์ใดที่เกิดขึ้นแล้ว ทุกข์นั้นย่อมดับลงตามกาลเวลา...(ธรรมทาน:facebook)

วันเสาร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2556

อำนาจเป็นของอันตรายจงใช้อย่างระมัดระวัง - พุทธทาสภิกขุ



บางทีมันก็แปลก แต่เป็นแปลกแบบน่าเศร้า 

บางคนยังไม่มีช่องทางให้ทำชั่ว ก็ยังพอเป็นผู้เป็นคนอยู่ แต่พอมีช่องทางให้ทำชั่วแล้ว ก็ทำชั่วเอาเสียเฉยๆ แสดงให้เห็นว่าเขาไม่ได้ดีด้วยน้ำใจตัวเอง เพียงแต่ยังไม่สบโอกาสให้ทำชั่วได้เท่านั้น หรือเขาทนอำนาจของความเย้ายวนไม่ได้จึงทำชั่วเพรา่ะพ่ายแพ้ต่ออำนาจความอยากฝ่ายต่ำ

แต่คนดีที่ดีโดยสันดาน แม้จะมีช่องทางให้ทำชั่ว ก็ไม่ทำอย่างนี้น่าสรรเสริญ

เราอย่าเอาใจฝักใฝ่ในความคิดชั่ว

เพราะ "เมื่อเราฝักใฝ่ในสิ่งใด เราก็ง่ายที่จะทำสิ่งนั้น"

พระท่านจึงสอนเสมอว่า...

อย่าระคนคลุกคลีคนชั่ว ไม่เช่นนั้นเราจะเห็นความชั่วเป็นของเคยชิน เพราะเห็นคนรอบข้างทำเอาเสียง่าย ไม่นา่นหรอก เราจะกลายเป็นคนชั่วเหมือนเขา

เราจะสมาคมกับคนชั่วได้ก็เป็นไปแต่ในทางสอนเขาให้เป็นคนดี ถ้าเราทำไม่ได้อย่างนั้น อย่าไปสมาคมกับเขาเป็นดีที่สุด


แล้วเราต้องรู้จักปฏิเสธความชั่วเสียแต่ทีแรก มีหลักที่สอนกันมาเนิ่นนาน และหลายประเทศก็ยึดถือปฏิบัติกัน กล่าวคือ ถ้าเรามีอำนาจที่จะให้คุณให้โทษใครได้ ถ้ามีพ่อค้าหรือใครให้ของกำนัลแก่เรา เราอย่าได้รับเสียแต่คราวแรกแล้ว เราจะเคยตัวรับเขาอีก สุดท้ายเขาจะให้ของมีราคาแก่เรา ทำให้เราน้ำท่วมปากต้องช่วยเหลือเขาเพราะเห็นแก่ของกำนัล สุดท้ายเราก็จะกลายเป็นคนชั่วเพราะการอย่างนี้

มีเรื่องจริงทำนองนี้เกิดขึ้นเสมอ ตัวอย่างในประเทศญี่ปุ่นผู้พิพากษาถูกคนโฉดใช้แผนลวงอย่างนี้ แต่แรกก็ให้ของไม่มีราคาอะไร แต่ภายหลังเขยิบราคาค่าของที่นำมาให้ จนสุดท้ายด้วยความเคยชิน ผู้พิำพากษาคนนั้นก็รับสินบนจากเขาผู้นั้นเสีย

คนชั่วมักมีแผนแยบยลในการทำการ เราจะต้องรู้ทันเขาเพื่อเราจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของเขา

แล้วสังเกตดูเถิด ถ้าเป็นข้าราชการแล้ว ไม่ว่าจะอยู่ในตำ่แหน่งใด ก็กล่าวได้ว่า สามารถให้คุณโทษแก่ผู้อื่นได้ จึงมีคนเลวจำนวนมากที่จะมาสมาคมด้วย การสมาคมของเขาเหล่านั้นจะหมายเป็นอื่นไปเสียไม่ได้เลย นอกไปเสียจากการเข้ามาเพื่อหาประโยชน์จากข้าราชการที่สามารถให้คุณให้โทษแก่เขาได้

ต้องเข้าใจกันว่า คนเราถ้ามีำกำลังน้อย ก็จะสามารถทำชั่วได้น้อย ได้รับบาปกรรมน้อย แต่ถ้ามีำกำลังมาก ก็จะสามารถทำชั่วได้มากขึ้น แล้วจะได้รับบาปกรรมเพื่อมากขึ้น

"ใครทำกรรมใดไว้ คนนั้นจะได้รับผลกรรมเสมอ"

เมื่อใครมีอำนาจวาสนาเพิ่มมากขึ้น ก็นอนใจเถอะว่าจะมีญาติมิตรมาจากหนไหนไม่รู้มากมายนัก เข้ามาคลุกคลีตีโมงด้วย

แล้วด้วยจำนวนคนที่มากขึ้น โอกาสอันมากขึ้น ก็จะเป็นช่องทางให้ท่านผู้ใหญ่ ผู้มีอำนาจวาสนา อาจสามารถทำผิดได้มากขึ้น...




ที่มา : หนังสือยินดีกับชีวิต วิธีคิดต่อยอดสุภาษิตของท่านพุทธทาสภิกขุ

วันพฤหัสบดีที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2556

โลกรอดเพราะกตัญญู - พุทธทาสภิกขุ

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณาย
สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๙ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์
เมื่อครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระญาณสังวร 
และพระธรรมโกศาจารย์ (ท่านพุทธทาสภิกขุ) สวนโมกขพลาราม



(พุทธทาส อินทปัญโญ)

                  อันบุคคล          กตัญญู             รู้คุณโลก
                  อุปโภค             บริโภค            มีให้หลาย
                  ข้าวหรือเกลือ    ผักหรือหญ้า     ปลาหรือไม้ ฯลฯ
                  รู้จักใช้              อย่าทำลาย      ให้หายไป
                  อนึ่งคน             ต่อคน              ทุกคนนี้
                  ล้วนแต่มี           คุณต่อกัน         นั้นเป็นไฉน
                  มองให้ดี           ดูให้เห็น           เช่นนั้นไซร้
                  โลกรอดได้        เพราะกตัญญู   รู้คุณกัน
                  ประเทศชาติ      ศาสนา            มหากษัตริย์
                  รวมเป็นอัต-       ภาพไทย         ใหญ่มหันต์
                  รอดมาได้          เพราะรักใคร่     อย่างผูกพัน
                  เพราะกตัญ-      ญูมี                  ที่ใจเอยฯ







ขอขอบคุณที่มาข้อมูล : หนังสือปางพระพุทธรูป หัวข้อธรรมในคำกลอน

รวมพุทธสุภาษิต-คำคม-ข้อคิด

ผู้ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคือ ผู้ที่ทำตนให้เล็กที่สุด
ผู้ที่เล็กที่สุดก็จะกลาย เป็นผู้ที่ใหญ่ที่สุด
ผู้ที่มีเกียรติคือ ผู้ที่ให้เกียรติผู้อื่น






สุขทุกข์ อยู่ที่ใจ มิใช่หรือ
เพราะใจถือ จึงเป็นทุกข์ ไม่สุขใส
ใจไม่ถือ จึงเป็นสุข ไม่ทุกข์ใจ
เราอยากได้ ความสุข หรือทุกข์นา 
(พระศาสนโสภณ)




ดวงดี ดีที่ทัก หรือที่่ทำ
ดวงต่ำ ต่ำที่ทำ ใครทำให้
ดวงดีชั่ว ที่ตัวทำ ใช่อื่นไกล
อย่าสงสัย ใช่ใครทำ ล้วนทำเอง
(ธีรยุทธ เวชเจริญยิ่ง)









วันศุกร์ที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2556

ที่สุดแห่งความดี - พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว. วชิรเมธี)


หากอยากเป็นคนดี ให้เริ่มต้นที่ "ความกตัญญู"

พระมหาวุฒิชัย วชิรเมธี (ว. วชิรเมธี) 



พระมหาวุฒิชัย กล่าวว่าในพระไตรปิฎกมีธรรมะกว่า 84,000 พระธรรมขันธ์ ซึ่งอาจมากมายจนหลายคน ไม่รู้จะไปหยิบจับ เอาธรรมะข้อใดมาปฏิบัติ เพื่อให้ตนเป็นคนดี ท่านจึงขอแนะนำว่าให้เลือกเอา ‘ความกตัญญู’ มาปฏิบัติเป็นอันดับแรก

ทั้งนี้ในส่วนของความกตัญญูต่อบุพการี ที่เปรียบเสมือนพระในบ้าน เราในฐานะลูก ควรหมั่นทำความดีต่อท่าน โอบกอดท่าน รวมถึงใช้เวลาอยู่กับท่านให้มากที่สุด เพราะแท้จริงแล้ว สิ่งที่ทำให้พ่อแม่มีความสุขมากที่สุดก็คือ การได้รับความรัก และการเอาใจใส่จากลูกนั่นเอง


อาหารที่อร่อยที่สุด ไม่ใช่อาหารที่มีรสชาติอร่อยที่สุด แต่เป็นอาหารที่เราได้กินกับคนที่เรารัก 

เสื้อผ้าพัตราภรณ์ที่มีรสนิยมที่สุด ไม่ใช่เสื้อผ้าที่เราสั่งมาจากเมืองนอก แต่เป็นเสื้อผ้าพัตราภรณ์ที่เราซื้อให้พ่อ ซื้อให้แม่ของเรา 

ที่นอนที่นุ่มนวล..สำหรับคนเป็นพ่อเป็นแม่ก็ไม่ใช่ที่นอนซึ่งแพง แต่เป็นที่นอนที่ลูกบรรจงปูให้พ่อให้แม่ 

โมงยามที่มีความสุขที่สุดของคนเป็นพ่อเป็นแม่ ก็ไม่ใช่โมงยามที่ได้รับรางวัลอันยิ่งใหญ่ของโลก แต่คือโมงยามที่พ่อแม่ลูกได้นั่งคุยกัน ได้นั่งกินข้าวด้วยกัน ได้เดินทางท่องเที่ยวด้วยกัน” 

ท่านว.วชิรเมธี บรรยายธรรมต่อว่า 

เมื่อเรารักพ่อแม่ ก็ต้องตอบแทนความรักให้กับพ่อแม่ เฉกเช่นเดียวกับ เมื่อเรารักแผ่นดิน รักพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เราก็ควรจะแสดงความกตัญญูเหล่านั้นออกมา แล้วประเทศชาติของเรา หรือกระทั่งโลกของเราก็จะสงบสุข เพราะเพียงแค่ความกตัญญูอย่างเดียว ก็สามารถกอบกู้โลกได้แล้ว


“ความกตัญญูย่อมหมายรวมถึง กตัญญูต่อแผ่นดิน ถิ่นที่เราอาศัยด้วย ถ้าเรากตัญญู เราก็จะไม่ทำให้พ่อแม่น้ำตาตก ไม่ทำให้แผ่นดินนี้เต็มไปด้วยการคอรัปชั่น ไม่ทำให้โลกนี้แย่ลง เพราะเราจะมองว่าโลกก็คือ บ้านของเรา มนุษย์ทุกคนคือบุตรธิดาของธรรมชาติ และแน่นอนน้ำจะไม่ท่วมบ้านท่วมเมือง เพราะเราจะไม่ทำลายสมดุลธรรมชาติ ความกตัญญูเพียงประการเดียวกอบกู้โลกทั้งโลกก็ยังได้ 

ดังนั้นความกตัญญูนั้นเป็นจริยาของพระพุทธเจ้า เป็นจรรยาของวิญญูชนทั้งโลก และแน่นอนที่สุดเป็นพระราชจริยวัตรในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เห็นได้จากการที่ทรงแบ่งเวลาจากพระราชกรณียกิจอันมากมายไปร่วมโต๊ะเสวยกับพระบรมราชชนนี อย่างน้อย 1 วันใน 1 สัปดาห์


ฉะนั้นหากเราทั้งหลายเห็นว่าธรรมะมีมากมาย ตั้ง 84,000 พระธรรมขันธ์ ไม่รู้จะไปหยิบจับเอาข้อใดมาประพฤติปฏิบัติ อาตมาขอแนะนำไว้ข้อหนึ่งคือ ความกตัญญู เพราะความกตัญญูคือ เครื่องหมายของการเป็นคนดี




“ถ้าเราอยากจะเฉลิมฉลองพระเกียรติยศพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ของเรา ให้ชาวโลกชื่นชมยินดี วิธีหนึ่งซึ่งเป็นวิธีที่เป็นรูปธรรมนั่นคือ ขอให้เราคนไทยทุกคนมาร่วมกันเป็นลูกกตัญญู เมืองไทยที่เต็มไปด้วยลูกกตัญญูนั้น จะเป็นเมืองไทยที่น่าอยู่ที่สุดในโลก  

ฉะนั้นความกตัญญูนี่แหละ เป็นสิ่งที่เราปฏิบัติได้ ไม่ได้เกี่ยวกับยศศักดิ์ ไม่ได้เกี่ยวกับการอ่านออกเขียนได้ ไม่ได้เกี่ยวกับเงินทอง ทรัพย์สิน สมบัติ ขอแค่เป็นคน คุณก็เป็นคนกตัญญูได้แล้ว นี่คือวิธีที่ดีที่สุด ที่คุณจะตอบแทนพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ของเรา หากรักพ่อ ก็ขอให้รักในสิ่งที่พ่อทำ พ่อปฏิบัติธรรม ลูกก็ปฏิบัติธรรม รักพ่อปฏิบัติธรรมถวายพ่อ แล้วพ่อจะทรงยินดีปรีดาเป็นที่สุด”



ยังมีผู้ร่วมแบ่งปันเรื่องราวความกตัญญู ทั้งต่อบิดามารดาและต่อพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของ ดร.วรภัทร์ ภู่เจริญ อีกนะคะ ติดตามรายละเอียดได้ลิงค์ด้านล่างเลยค่ะ


ขอขอบคุณแหล่งที่มา : ASTV Manager online : http://www.manager.co.th/CelebOnline/ViewNews.aspx?NewsID=9540000166582

วันจันทร์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2556

จงสร้างสุขที่ยั่งยืนแท้จริงที่ "ใจ" เถิด - หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน




หลวงตามหาบัว ญาณสัมปันโน (พระธรรมวิสุทธิมงคล)
อริยสงฆ์ผู้เผยแผ่พระสัทธรรมและยังประโยชน์สุขแ่ก่ศรัทธาชนทั้งประเทศ



ขอให้ชาวพุทธทุกคนเชื่อในความดีงามเถิดว่า

การดำรงอยู่ซึ่งบาปและบุญ

การรู้แจ้งแห่งนรกสวรรค์

บาป บุญ นรก และสวรรค์ ล้วนมีอยู่จริง

อย่าหวังว่ากายของเรายั่งยืนค้ำฟ้า 

หากแต่วิญญาณออกจากร่าง

นั่นเหมือนหนึ่งว่าสังขารไม่เที่ยงแท้

มีเกิดขึ้นและดับลง แล้วสิ้นไปแห่งวาระนั้น

จงสร้างสุขที่ยั่งยืนแท้จริงที่ "ใจ" เถิด




วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2556

ทำความดี ชีวิตมีค่า - สมเด็จพระสังฆราชฯ


สมเด็จพระสังฆราชฯ ประทานพรปี 2554 “ทำความดี ชีวิตมีค่า”

สมเด็จพระสังฆราชฯ ทรงประทานพรปีใหม่ “ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ” ให้ทำความดี ชีวิตมีค่า ขณะที่สมเด็จพระพุฒาจารย์ ขอให้ชาวไทยทุกคนรวมใจกัน เพื่อถวายแด่พระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัว




วันที่ (24 ธ.ค.2554) สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงประทานพระพรปีใหม่ พุทธศักราช 2554 ให้แก่ประชาชนชาวไทย ความว่า ธมฺโม สุจิณฺโณ สุขมาวหาติ ธรรมที่ประพฤติดีแล้ว นำสุขมาให้โดยทั่วไปย่อมถือกันว่า ชีวิตเป็นสิ่งที่มีค่ายิ่งกว่าสิ่งใด เมื่อถึงคราวจำเป็นคนเราอาจสละทุกสิ่งทุกอย่างได้ เพื่อรักษาไว้ซึ่งชีวิต หากพิจารณาตามแนวของพระพุทธศาสนาก็เป็นจริงเช่นนั้น พระพุทธศาสนาถือว่ารากฐานของชีวิต คือ ความดี หากมีความดีไม่ถึงขั้น จะไม่ได้ความเป็นมนุษย์ ดังที่พระพุทธองค์ได้ตรัสไว้ว่า ความได้เป็นมนุษย์เป็นการยาก

สมเด็จพระสังฆราชฯ

เมื่อชีวิตมีค่า จึงควรที่เราจะต้องใช้ชีวิตให้สมค่าของชีวิต คือการที่ได้มาเป็นมนุษย์ โดยการทำความดี คือการไม่ทำบาปทั้งปวง การทำความดีให้ถึงพร้อม การทำใจของตนให้สะอาดบริสุทธิ์ และการประกอบประโยชน์ทั้งแก่ตนเองและผู้อื่น ไม่ปล่อยชีวิตให้เป็นไปอย่างเปล่าประโยชน์ ประพฤติปฏิบัติแต่คุณงามความดี ทั้งที่เป็นส่วนตนและผู้อื่น จึงได้ชื่อว่าสุชีวิต คือ ชีวิตที่ดีงาม ขออนุโมทนาสาธุการต่อคุณงามความดีที่ทุกท่านได้กระทำแล้วในปีเก่า และ ขออนุโมทนาสาธุการต่อคุณงามความดีที่ทุกท่านกำลังกระทำอยู่ในปัจจุบัน และในปีใหม่ พุทธศักราช 2554 ตลอดปี ขอธรรมคือคุณงามความดีที่ทุกท่านประพฤติแล้วจงนำสุขมาให้แก่ท่าน เทอญ ขออำนวยพร





สมเด็จพระพุฒาจารย์ ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชฯ วัดสระเกศราชวรวิหาร ให้พรปีใหม่ ว่า ในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ ขอให้เราทั้งหลายที่เป็นชาวพุทธหรือแม้แต่นับถือศาสนาอื่น ตั้งใจร่วมกันให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวของเราจงเจริญพระชนมพรรษา ปราศจากพระโรคาพาธ สามารถดำรงพระชนมพรรษาตามที่พระองค์ทรงปรารถนา และขอให้เราทั้งหลายจงตั้งใจเพื่อให้เกิดความสุขสวัสดีแก่ชีวิตของเราทุกๆ คน ขอให้ทุกคนจงมีความเจริญรุ่งเรืองก้าวหน้า ปรารถนาสิ่งใดที่ชอบ ขอให้ความปรารถนานั้นจงพลันสำเร็จแก่ท่านทั้งหลายโดยทั่วกัน เทอญ

สมเด็จพระมหารัชมังคลาจารย์ คณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราชฯ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ ให้พรปีใหม่ว่า ขอเจริญพรศรัทธาสาธุชนทั้งหลาย บัดนี้ เป็นวาระดิถีขึ้นปีใหม่ เมื่อขึ้นปีใหม่อย่างนี้ อาตมาขออำนวยอวยพรกับท่านทั้งหลาย ขอให้ท่านทั้งหลายจงมีความสามัคคีซึ่งกันและกัน ขอทุกท่านจงรู้รักสามัคคีในกันและกัน อันว่าความสามัคคีนั้น เป็นคุณธรรมอันสูงส่งที่จะช่วยให้เกิดความอยู่เย็นเป็นสุข หมู่ใด คณะใด ถ้ามีความสามัคคี รู้รักสามัคคี หมู่นั้นคณะนั้นย่อมจะมีแต่ความสุขความเจริญ ถ้ายิ่งเป็นประเทศชาติด้วยแล้ว เมื่อมีความสามัคคีกัน ก็ย่อมจะเกิดความเป็นปึกแผ่นแน่นหนามาให้กับชาติบ้านเมือง บ้านเมืองก็จะเจริญรุ่งเรืองอยู่เย็นเป็นสุข


ท่านทั้งหลายในอดีตกาล แคว้นวัชชี กษัตริย์ลิจฉวีปกครองกันด้วยสามัคคีธรรมอยู่เย็นเป็นสุข ข้าศึกศัตรูไม่สามารถจะมาล่วงล้ำกล้ำเกิน หรือตีชิงบ้านเมืองได้ แต่ในสมัยต่อมา วัสสการพราหมณ์เข้าไปยุยงส่งเสริมให้กษัตริย์ลิจฉวีทั้งหลายนั้นแตกสามัคคีกัน เมื่อแตกสามัคคีกันแล้วถึงคราวศึกสงครามในบ้านเมือง ต่างคนต่างก็ถือตัวในกันและกัน ไม่รวมสามัคคีเหมือนแต่ก่อน บ้านเมืองก็ถึงกาลอับปางแตกสลาย นี่ก็เพราะเหตุแห่งการแตกสามัคคี ถ้าหากว่าแตกสามัคคีกันก็จะทำให้บ้านเมืองเป็นอย่างนั้น เมื่อลิจฉวีนั้นอาศัยวัสสการพราหมณ์ผู้เดียวเท่านั้นที่ยุยงส่งเสริมอย่างที่ว่านี้ ยุยงคนนั้น ยุยงคนนี้ให้เกลียดชังกัน ให้ขาดสมัครสมานสามัคคีกัน ที่สุดก็แตกสามัคคีกัน นี้เป็นตัวอย่าง ถ้าหากว่าบ้านไหนเมืองไหนถ้าแตกสามัคคีกันแล้วก็จะเป็นดังเมืองลิจฉวีเช่นนั้นแน่นอน



ดังนั้น ญาติโยมทั้งหลาย ศรัทธาสาธุชนทุกท่าน บัดนี้ขึ้นปีใหม่แล้ว ขอท่านทั้งหลายจงสามัคคีกันเถิด ขอท่านทั้งหลายจงรู้รักสามัคคีกันเถิด ขอท่านทั้งหลายอย่าได้วิวาทแก่งแย่งซึ่งกันและกันเลย เมื่อท่านทั้งหลายมีสามัคคีธรรมอย่างนี้ ความสุข ความสงบ ความร่มเย็นก็จะเกิดมีกับท่านทั้งหลาย

ในวาระดิถีขึ้นปีใหม่ อาตมภาพขออำนวยพรโดยอ้างอำนาจคุณพระศรีรัตนตรัยและสิ่งศักดิ์สิทธิ์จงคุ้มครองท่านทั้งหลายทุกหมู่เหล่า ให้มีความสามัคคีในกันและกัน ให้ท่านทั้งหลายอยู่เย็นเป็นสุข ไม่ทุกข์เดือดร้อน ให้ท่านทั้งหลายเจริญรุ่งเรืองในศาสนาของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมด้วยอายุ วัณณะ สุขะ พละ ปณิธานธนสารสมบัติ จงตลอดปี 2554 นั้น เทอญ




ทีฆายุโก โหตุ สังฆราชา ขอถวายพระพรชัยมงคล 
ให้สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชฯ 
ทรงมีพระพลานามัยแข็งแรง 
ขอพระองค์ทรงเจริญพระชนมายุยิ่งยืนนานเทอญ







ขอขอบคุณที่มา : เวปผู้จัดการออนไลน์ http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9530000181023

ความดีเปรียบประดุจแสงสว่าง - สมเ​ด็จพระสังฆราชฯ


พระนิพนธ์สมเด็จพระญาณสังวรสมเ​ด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก


กิเลสมีมากเพียงใด ทุกข์มีมากเพียงนั้น

ความทุกข์จะต้องมีอยู่ ตราบที่กิเลสทั้งสามกองคือ โลภ โกรธ หลง ยังมีอยู่ กิเลสมีมากเพียงใด ทุกข์มีมากเพียงนั้น เมื่อใดกิเลสสามกองหมดไปจากจิตใ​จอย่างสิ้นเชิงแล้วนั่นแหละ ความทุกข์จึงจะหมดไปจากจิตใจอย่​างสิ้นเชิงได้ จึงควรพยายามทำกิเลสให้หมดสิ้นใ​ห้จงได้ มีมานะพากเพียรใช้สติใช้ปัญญาให​้รอบคอบเต็มความสามารถให้ทุกเวล​านาทีที่ทำได้ แล้วจะเป็นผู้ชนะได้มีความสุขอย​่างยิ่ง

ความทุกข์ทั้งสิ้น เกิดจากกิเลสในใจเป็นสำคัญ

เราทุกคนต้องการเป็นสุข ต้องการพ้นทุกข์ แต่ไม่ปฏิบัติเพื่อความเป็นสุข เพื่อความสิ้นทุกข์ แล้วผลจะเกิดได้อย่างไร ความคิดเร่าร้อนต่าง ๆ อันเป็นเหตุให้เป็นทุกข์กันอยู่​ในทุกวันนี้ ล้วนเกิดจากกิเลสในใจเป็นเหตุสำ​คัญทั้งสิ้น กิเลสนั่นแหละเป็นเครื่องบัญชาใ​ห้ความคิดเป็นไปในทางก่อทุกข์ทุ​กประการ ถ้าไม่มีกิเลสพาให้เป็นไปแล้ว ความคิดจะไม่เป็นไปในทางก่อทุกข​์เลย ความคิดจะเป็นไปเพื่อความสงบสุข​ของตนเอง ของส่วนรวม ตลอดจนถึงของชาติ ของโลก



ทำความเชื่อมั่นว่ากิเลสทำให้เก​ิดทุกข์จริง จักสามารถแก้ปัญหาทุกข์ที่เกิดข​ึ้นทั้งปวงได้ความสำคัญที่สุดอยู่ที่ว่า ต้องพยายามทำความเชื่อมั่นให้เก​ิดขึ้นเสียก่อน ว่ากิเลสทำให้เกิดทุกข์จริง คือ กิเลสนี้แหละทำให้คิดไปในทางเป็​นทุกข์ต่าง ๆ เมื่อยังกำจัดกิเลสไม่ได้จริง ๆ ก็ต้องฝืนใจหยุดความคิดอันเต็มไ​ปด้วยกิเลสเร่าร้อนเสียก่อน การหยุดความคิดที่เป็นโทษ เป็นความร้อนนั้น ทำได้ง่ายกว่า ตัดรากถอนโคนกิเลส ฉะนั้นในขั้นแรกก่อนที่จะสามารถ​ทำกิเลสให้สิ้นไปได้ ก็ให้ฝืนใจไม่คิดไปในทางเป็นทุก​ข์เป็นโทษให้ได้เป็นครั้งคราวก่​อนก็ยังดี


หยุดความคิดที่เกิดด้วยอำนาจของ​กิเลส

อย่าเข้าข้างตัวเองผิด ๆ ดูตัวเองให้เข้าใจ เมื่อโลภเกิดขึ้นให้รู้ว่ากำลัง​คิดโลภแล้ว และหยุดความคิดนั้นเสีย เมื่อโกรธเกิดขึ้นให้รู้ว่ากำลั​งคิดโกรธแล้ว และหยุดความคิดนั้นเสีย เมื่อหลงให้รู้ว่ากำลังคิดหลงแล​้ว และหยุดความคิดนั้นเสีย หัดหยุดความคิดที่เป็นกิเลสเสีย​ก่อนตั้งแต่บัดนี้เถิด จะเป็นการเริ่มฐานต่อต้านกำราบป​ราบทุกข์ให้สิ้นไป ที่จะให้ผลแท้แน่นอนความคิดของคนทุกคนแยกออกได้เป็น​สอง อย่างหนึ่งคือความคิดที่เกิดด้ว​ยอำนาจของกิเลสมีโลภ โกรธ หลง อีกอย่างหนึ่งคือ ความคิดที่พ้นจากอำนาจของความโล​ภ โกรธ หลง ความคิดอย่างแรกเป็นเหตุให้ทุกข​์ให้ร้อน ความคิดอย่างหลังไม่เป็นเหตุให้​ทุกข์ให้ร้อน

นับถือผู้สั่งสอนความถูกต้องดีง​ามเป็นครู

จะถือผู้ใดสิ่งใดเป็นครูได้ ก็ต้องเมื่อผู้นั้นสอนความถูกต้​องดีงามให้เท่านั้น ต้องไม่ถือผู้ที่สอนความไม่ถูกไ​ม่งามเป็นครูโดยเด็ดขาด และที่ว่าต้องไม่ถือเป็นครูหมาย​ความว่าต้องไม่ปฏิบัติตาม ที่ว่าให้ถือเป็นครูก็คือให้ปฏิ​บัติตาม ทุกคนมีหน้าที่เป็นศิษย์ หน้าที่ของศิษย์ก็คือปฏิบัติตาม​ครูอย่างให้ความเคารพ กล่าวได้ว่าให้เคารพและปฏิบัติต​ามคนดีแบบอย่างที่ดี รำลึกถึงคนดีและแบบอย่างที่ดีไว​้เสมอ อย่างมีกตัญญูกตเวทีคือ รู้พระคุณท่านและตอบแทนพระคุณท่​าน การตอบแทนก็คือทำตนเองให้ได้เหม​ือนครู นั่นเป็นการถูกต้องสมควรที่สุด จะได้รับความสุขสวัสดีตลอดไป


ความดีหรือบุญกุศลเปรียบเหมือนแ​สงไฟ

ความดีหรือบุญกุศลเปรียบเหมือนแ​สงไฟ ผู้ที่ทำบุญทำกุศลอยู่สม่ำเสมอเ​พียงพอ แม้จะเหมือนไม่ได้รับผลของความด​ี และบางครั้งก็เหมือนทำดีไม่ได้ด​ี ทำดีได้ชั่วเสียด้วยซ้ำ เช่นนี้ก็เหมือนจุดไฟในท่ามกลาง​แสงสว่างยามกลางวัน ย่อมไม่ได้ประโยชน์จากแสงสว่างน​ั้น แต่ถ้าตกต่ำมีความมืดมาบดบัง แสงสว่างนั้นย่อมปรากฏขจัดความม​ืดให้สิ้นไป สามารถแลเห็นอะไร ๆ ได้ เห็นอันตรายที่อาจมีอยู่ได้ จึงย่อมสามารถหลีกพ้นอันตรายเสี​ยได้ ส่วนผู้ไม่มีแสงสว่างอยู่กับตน เช่นไม่มีเทียนจุดอยู่ เมื่อถึงยามกลางคืนมีความมืดมิด​ ย่อมไม่อาจขจัดความมืดได้ ไม่อาจเห็นอันตรายได้ ไม่อาจหลีกพ้นอันตรายได้

ผู้มีแสงสว่างอยู่กับตัว สามารถดำรงตนอยู่ได้ด้วยความดีท​ี่ทำอยู่

ผู้ทำความดีเหมือนผู้มีแสงสว่าง​อยู่กับตัว ไปถึงที่มืดคือที่คับขัน ย่อมสามารถดำรงตนอยู่ได้ด้วยดีพ​อสมควรกับความดีที่ทำอยู่ตรงกัน​ข้ามกับผู้ไม่ได้ทำความดี ซึ่งเหมือนกับผู้ไม่มีแสงสว่างอ​ยู่กับตัว ขณะยังอยู่ในที่สว่างอยู่ในความ​สว่าง ก็ไม่ได้รับความเดือนร้อน แต่เมื่อใดตกไปอยู่ในที่มืดคือท​ี่คับขัน ย่อมไม่สามารถดำรงตนอยู่ได้อย่า​งสวัสดี ภัยอันตรายมาถึงก็ไม่รู้ไม่เห็น​ ไม่อาจหลีกพ้น คนทำดีไว้เสมอกับคนไม่ทำดี แตกต่างกันเช่นนี้ประการหนึ่ง


การทำความดี ต้องทำให้ยิ่งขึ้นอยู่เสมอ

การทำดีต้องไม่มีพอ ต้องทำให้ยิ่งขึ้นอยู่เสมอ เพราะไม่มีใครอาจประมาณได้ว่าเม​ื่อใดจะตกไปในที่มืดมิดขนาดไหน ต้องการแสงสว่างจัดเพียงใด ถ้าไม่ตกเข้าไปในที่มืดมิดมากมา​ยนัก มีแสงสว่างมากไว้ก่อน ก็ไม่ขาดทุน ไม่เสียหาย แต่ถ้าตกเข้าไปในที่มืดมิดมากมา​ย แสงสว่างน้อย ก็จะไม่เพียงพอจะเห็นอะไร ๆ ได้ถนัดชัดเจน การมีแสงสว่างมากจะช่วยให้รอดพ้​นจากการสะดุดหกล้มลงเหวลงคู หรือตกเป็นเหยื่อของสัตว์ร้ายจน​ถึงตายถึงเป็น

อานุภาพของความดีหรือบุญกุศล

อานุภาพของความดีหรือบุญกุศลนั้​น เป็นอัศจรรย์จริง เชื่อไว้ดีกว่าไม่เชื่อ และเมื่อเชื่อแล้วก็ให้พากันแสว​งหาอานุภาพของความดีหรือของบุญก​ุศลให้เห็นความอัศจรรย์ด้วยตนเอ​งเถิด


นำกิเลสออกจากใจหมดสิ้นเชิง ใจก็บริสุทธ์สิ้นเชิง เป็นสภาพที่แท้จริงของใจ
ที่จริงนั้นใจบริสุทธิ์ผ่องใส กิเลสเข้าจับทำให้สกปรกไปตามกิเ​ลส ปล่อยให้กิเลสจับมากเพียงไรใจก็​สกปรกมากขึ้นเพียงนั้น

-นำกิเลสออกเสียบ้าง...ใจก็จะลด​ความสกปรกลงบ้าง

-นำกิเลสออกมาก...ใจก็ลดความสกป​รกลงมาก

-นำกิเลสออกหมดสิ้นเชิง...ใจก็บ​ริสุทธิ์สิ้นเชิง เป็นสภาพที่แท้จริง มีความผ่องใส

เมื่อใจกับความสกปรกหรือกิเลสเป​็นคนละอย่าง ไม่ใช่อย่างเดียว อันเดียวกัน ทุกคนจึงสามารถจะแยกใจของตนให้พ​้นจากกิเลสได้ คือสามารถจะนำกิเลสออกจากใจได้




การทำใจให้เป็นสุข ต้องทำด้วยตัวเอง
การทำใจให้เป็นสุขผ่องใสนั้น ไม่มีใครจะทำให้ใครได้ เจ้าตัวต้องทำของตัวเอง วิธีทำก็คือ เมื่อเกิดโลภ โกรธ หลง ขึ้นเมื่อใด ให้พยายามมีสติรู้ให้เร็วที่สุด​ และใช้ปัญญายับยั้งเสียให้ทันท่​วงที อย่าปล่อยให้ช้า เพราะจะเหมือนไฟไหม้บ้าน ยิ่งดับช้าก็ยิ่งดับยาก และเสียหายมากโดยไม่จำเป็น

พระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าชี้ช​ัดได้ว่า สิ่งใดคือดี สิ่งใดคือชั่ว อย่างถูกต้อง

ถ้าไม่รู้จริงๆ ว่า อะไรคือดี อะไรคือชั่ว ก็ศึกษาพระธรรมคำสั่งสอนของพระพ​ุทธเจ้า แล้วเชื่อตามที่ทรงสอน ก็จะรู้ว่าอะไรคือดี อะไรคือชั่ว ที่จริงแล้วทุกคนรู้ว่าอะไรดีอะ​ไรชั่ว แต่ไม่พยายามรับรู้ความจริงนั้น​ว่า เป็นความจริงสำหรับตนเองด้วย มักจะให้เป็นความจริงสำหรับผู้อ​ื่นเท่านั้น ดังที่ปรากฎอยู่เสมอ ผู้ที่ว่าคนนั้นไม่ดีอย่างนั้นอ​ย่างนี้ และตัวเองก็เป็นเช่นนั้นด้วย โดยตัวเองก็หาได้ตำหนิตัวเองเช่​นที่ตำหนิผู้อื่นไม่ ถ้าจะให้ดีจริง ๆ ถูกต้องสมควรจริง ๆ แล้ว ก็ต้องเชื่อพระพุทธเจ้า ท่านทรงสอนให้เตือนตน แก้ไขตน 
ก่อนจะเตือนผู้อื่นแก้ไขผู้อื่น



พอมี พอใช้ พอใจ พอเีีพียง


อย่าคิดว่าสิ่งที่เรามีนั้น ยังมีไม่พอ
แต่ควรคิดว่าสิ่งที่เรามีนั้น
ดีกว่าไม่มีเพียงใด

มีความเข้าใจผิดอย่างใหญ่หลวง อยู่ทั่วไป คือเข้าใจว่าสันโดษ คือการอยู่อย่างโดดเดี่ยว ไม่ยุ่งเกี่ยวกับใคร ทั้งๆ ที่แท้จริงแล้ว สันโดษ หมายถึง ความพอใจในสิ่งที่ตนมี ตนเป็น ไม่ใฝ่หามาเพิ่มด้วยความอยากความโลภ ไม่ริษยาผู้ที่มีมากกว่าตน และไม่คิดจะมีมาก-เป็นมากกว่าใครๆ

พอมี พอใช้ พอใจ พอเพียง คือเคล็ดลับแห่งการอาศัยอยู่ในโลกนี้อย่างมีความสุข เพราะตราบที่มีความพอใจอยู่เมื่อใด ความร้อนใจก็ไม่มีเมื่อนั้น เพียงแต่น้อยคนนักที่จะพอใจในสิ่งที่ตนมีตนเป็น

คนเรามักคิดอยู่เสมอว่า วันนี้เรายังมีไม่พอ และความคิดเช่นนี้ที่ทำให้เราตกเป็นทาสของกิเลสตัณหาที่พาตัวเองไปสู่ทางร้าย พาบ้านตนและบ้านเมืองไปสู่ความวุ่นวาย ความคิดเช่นนี้ที่ทำให้คนค้าขายหากำไรด้วยวิธีเอาเปรียบลูกค้า ความคิดเช่นนี้ทำให้ชาวชนบทต้องตกเป็นเหยื่อตามถ้อยคำปลุกปั่นจูงใจของนักการเมืองไทยในทุกยุคทุกสมัย

สิ่งที่มวลมนุษย์ต่างแสวงหา ก็คือการมีชีวิตอยู่อย่างไพบูลย์ด้วยทรัพย์สินเงินทองและของที่ปราถนา เพราะเชื่อว่า นั่นเป็นความสุขในโลก แต่ความจริงมิใช่เช่นนั้น คนที่มีสมบัติสมบูรณ์ใช่้ว่าจะเป็นคนที่มีความสุขเสมอไป หากคนผู้นนั้นไม่รู้จักหนทางดำเนินชีวิตที่ถูกต้อง เพราะการใช้ชีวิตอยู่กับการแสวงหาทุกเวลาย่อมเป็นความทุกข์ทุกเวลาเช่นกัน

ความไม่รู้จักพอ คือกิเลสที่ผลักดันให้ผู้ใฝ่หากล้าทำทุกอย่าง แม้ต้องละเมิดศีล ๕ เพียงให้ได้มาซึ่งสิ่งที่ตนขาดและปราถนา มีผู้หลงผิดในโลกมากมายที่ทุ่มเทเงินทองเพื่อซื้ออำนาจ ด้วยหวังว่าเมื่อได้อำนาจก็จะได้เงินทองกลับมาอีกมหาศาล และบันดาลความสุขให้ตนได้ดังเทวดา ทั้งๆ ที่นั่นเป็นความคิดที่ผิด ที่สั้น และเป็นเรื่องของวัตถุทางโลกโดยแท้ ความปราถนาอำนาจที่ไม่ยั่งยืน และสมบัติที่ไม่ถาวรจนถึงกับทำลายทำร้ายผู้อื่น ย่อมไม่ต่างจากคนที่ลงทุนซื้อปืนไว้เพื่อปล้นบ้านเพื่อนฉะนั้น


ผู้มีการศึกษา มีปัญญาในทางโลก ย่อมใช้ความฉลาดในทางโลก สรรหาเหตุผลนับร้อยๆ พันๆ ข้อ มาสนับสนุนความอยากของตนว่า สิ่งที่ตนอยากได้ อยากมี อยากเป็นนั้น มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อตน และผู้อื่นเพียงใด ปัญญาในทางโลกจึงมีส่วนนำผู้คิดเช่นนั้นลงสู่ทางผิดได้ง่ายอย่างน่าเป็นห่วง ฉะนั้น ผู้มีการศึกษาสูงในทางโลกจึงควรแสงหาปัญญาในทางธรรมไว้ด้วย


ในทางพระพุทธศาสนา ผู้ใดมีทรัพย์พอประมาณและรู้จักใช้ทรัพย์นั้นในทางที่ถูกต้อง ด้วยการมีชีวิตอย่างเรียบง่าย จะเป็นผู้ที่พระพุทธองค์ทรงสรรเสริญยกย่องอย่างมาก ผู้รู้จักประมาณในตนเอง รู้จักประมาณในทุกสิ่ง รู้จักความพอดี ย่อมมีชีวิตที่ปลอดโปร่งเบาใจ ห่างไกลจากความกังวล ผู้มักน้อยย่อมรู้ซึ้งถึงคุณค่าของสิ่งเล็กน้อย รู้คุณค่าของเงิน คุณค่าของเวลา คุณค่าของลมหายใจ และใช้ชีวิตอย่างไม่เหลวไหลไร้สาระ ย่อมถึงความสุขตลอดเวลา ทั้งชีวิตนี้และชีวิตหน้า

อยู่อย่างสันโดษก็คือ อยู่อย่างรู้จักเจียมตัวเอง พอมี พอใช้ พอใจในความเป็นอยู่ของตน มีน้อยก็อยู่สบายแบบใช้น้อย ไม่อยากมากมายไม่สิ้นสุด ไม่สนใจคำค่อนแคะของใครๆ ในโลกอันหรูหราว่าตนมีอะไรๆ ไม่เสมอหน้าคนอื่นๆ ใครจะว่าอย่างไรก็ไม่รู้สึกต่ำต้อยน้อยใจ หรือใฝ่แต่จะเปรียบเทียบฐานะของตนกับของใครๆ

"...บุคคลใดรู้อัตภาพของผู้อื่น และอัตภาพของตนในโลก ไม่มีกิเลสเป็นเหตุให้หวั่นไหวในโลกไหนๆ เรากล่าวว่าบุคคลนั้น สงบระงับแล้ว ไม่มีทุจริตอันทำให้จิตกลุ้มมัวดุจควันไฟ ไม่มีกิเลสอันกระทบใจ หาความทะเยอทะยานมิได้ ห้ามชาติและชราได้แล้ว..." (จาก อานันทสูตร อังคุตตรนิกาย เอกนิบาต)

หากผู้ใดยังตัดตัวจากสังคมคนแวดล้อมไม่ได้ ชีวิตในโลกของผู้นั้นย่อมอดไม่ได้กับการเปรียบเทียบว่า คนนั้นมี แต่เรายังไม่มี คนนี้ได้ แต่เรายังไม่ได้ หรือเพื่อนเป็นแล้ว แต่ตัวเองยังไม่เป็น ความต่ำต้อยน้อยใจจึงทำใ้ห้ผู้นั้นเป็นทุกข์ หากไม่ได้ ไม่มี หรือไม่เป็นเช่นคนอื่น

แน่นอน ไม่ใช่เรื่องง่ายๆ เลย ที่ใครจะบอกให้ใครผู้กำลังอยากได้โน่น-อยากได้นี่ ให้รู้จักพอเพียง และคงยิ่งยากมากขึ้นอีกด้วยซ้ำ ถ้าใครจะบังคับให้ตัวเองให้รู้จัก "พอ" เพียงแค่นี้ ตราบที่ยังอยู่ในโลกหรือยังใช้ชีวิตแบบโลก-โลกอยู่อย่างทุกวันนี้ เราคงพ่ายแพ้จนหมดท่า มากกว่าจะระงับยับยั้งตัณหาไม่ได้

แม้แต่ตัวคุณเอง ถ้าคุณทนไม่ได้ที่จะต้อง "พอ" เพียงแค่ที่เป็นอยู่ คุณไม่ต้องลำบากใจ เพราะปกติใครๆ ในโลกก็เป็นเหมือนคุณ เป็นเพื่อนร่วมโลก ร่วมทุกข์ ร่วมร้อนใจและหวั่นไหวไปตามแรงความอยากในใจไม่ต่างไปจากคุณ

ลองใช้คาถานี้ต่อสู้กับกิเลสตัณหา ลองระงับความอยากโดยบอกตัวเองว่า "ค่อยเป็น ค่อยไป แล้วเราจะได้ดังปราถนา" แปลง่ายๆ ก็คือ คุณต้องทำใจให้ยอมรับการเปลี่ยนแปลงอย่างช้าๆ แปลว่า คุณไม่จำเป็นต้องหยุดความเจริญก้าวหน้าไว้เพียงวันนี้ เพราะคุึณยังมีโอกาสสมปราถนาได้ในโอกาสหน้า เพียงแต่ว่าคุณไม่ต้องใจร้อน

เพราะความอยากที่มาพร้อมกับความใจร้อน ก็คือ ความโลภ โลกที่อยากได้อยากมี อยากเป็นเร็วๆ โลภจนยอมทำทุกอย่างที่ผิดทำนองคลองธรรม เช่น คดโกงเบียดเบียน แก่งแย่ง ไปจนถึงขโมย ซึ่งแม้จะได้ จะมี จะเป็นสมใจ แต่ก็เพียงชั่วคราว ไม่ถาวร แล้วสิ่งที่ตามมาหลังจากนั้น ก็คือ ทุกข์ยาวนาน อันเกิดจากความโลภนั้นเอง

เหมือนคุณเดินขึ้นบันไดพญานาคสู่วัดบนยอดดอย คุณต้องเดินทีละก้าวๆ อย่างไ่ม่ใจร้อน แม้บันไดนี้จะยาวกว่าบันไดขึ้นสู่วัดพระธาตุดอยสุเทพหลายสิบเท่า แต่คุณไม่จำเป็นต้องรู้หรอกว่ามันทีทั้งหมดกี่ขั้น ไม่จำเป็นต้องรีบวิ่งขึ้นจนเหนื่อยแทบขาดใจ ขอเพียงคุณสนใจก้าวขึ้นบันไดที่อยู่ตรงหน้าไปทีละขั้นๆ เหนื่อยก็นั่งพักได้ตามใจ หายเหนื่อยก็ก้าวเดินต่อ คุณก็จะถึงยอดดอยได้ในที่สุด นี่คือความมหัศ่จรรย์ของความวิริยะ ซึ่งถ้าคุณทำเช่นนั้นกับบันไดได้ ก็ทำเเช่นนั้นกับเรื่องทั้งหลายได้เช่นกัน

เพียงอยู่กับวันนี้ด้วยความใจเย็น แล้วทำดีที่สุดเท่าที่คุณจะทำได้ไปตามปรกติ คุณก็จะไปถึงพรุ่งนี้ที่ดีกว่าได้ในที่สุด

นี่คือความจริง เพราะกฏแห่งความเปลี่ยนแปลงมีจริง เพียงแต่กฏแห่งความเปลี่ยนแปลงอย่างฉับพลันทันใจเ่ท่านั้นที่ไม่มีจริง

ขอให้คุณเชื่อ กฏแห่งความเปลี่ยนแปลงในโลก ในเมือง ในสังคม ในครอบครัว และในชีวิตคุณ ซึ่งกฏนี้จะทำหน้าที่ของมันอย่างค่อยเป็นค่อยไปไม่หยุดยั้ง เชื่อเถิดว่าไม่มีอะไรในโลกนี้อยู่คงที่คงเดิม แม้ความไม่ได้ ความไม่มี ความไม่เป็น และความไม่พอใจของคุณ ก็จะเปลี่ยนอย่างค่อยเป็นค่อยไปตามกาลเวลา

ฉะนั้นวันนี้ เพียงพอใจในตัวเอง พอใจในความสุขที่ตัวเองมีอยู่ แม้จะเป็นความสุขที่น้อย เมื่อเทียบกับคนที่สุขกว่า แต่ถ้าเรารู้จักพอ ไม่มัวแต่อยากได้สุขเพิ่ม ไม่ฝันใฝ่ให้เลิศหรู เราก็จะอยู่กับชีวิตของเราได้อย่างมีความสุข


ขอขอบคุณแหล่งที่มาข้อมูล : หนังสือสร้างใจให้ตัวเบา วิชชาจากพระพุทธเจ้า (วรยุทธ พิชัยศรทัต)

โชคมนุษย์ - ( พลตรีหลวงวิจิตรวาทการ )


สิ่งหนึ่งที่บุคคลสำคัญของโลกมีก็คือ "ความเป็นผู้มีหัวใจเข้มแข็ง (Strongmindedness)"
คนที่มีหัวใจเข้มแข็งนั้น ย่อมไม่รู้จักฉุนเฉียวหรือโกรธง่าย คนที่โกรธง่าย คือคนอ่อนแอ ไม่สามารถจะบังคับตัวของตัวเองได้ ลักษณะของมนุษย์ที่เข้มแข็งมี 4 ประการ คือ

1. ไม่รู้จักบ่นหรือร้องทุกข์
2. ไม่ต้องการทราบว่าคนอื่นจะคิดเห็นว่าตัวเป็นอย่างไร
3. ไม่บอกความลับของตนให้แก่ใคร และไม่ต้องการรู้ความลับของคนอื่น
4. ไม่คิดว่าตัวเองเป็นคนเคราะห์ร้าย สามารถจะนำเอาเหตุการณ์ต่างๆ มาทำประโยชน์แก่ตนได้ทั้งสิ้น 
เหนือสิ่งอื่นใดก็คือคนที่มีหัวใจเข็มแข็งย่อมจะยิ้มได้เมื่อภัยมา

โลกมนุษย์นี้ไม่มีที่แน่นอน 
ประเดี๋ยวเย็นประเดี๋ยวร้อนช่างแปรผัน 
โชคหมุนเวียนเปลี่ยนไปได้ทุกวัน
สาระพันหาอะไรไม่ยั่งยืน 

ชีวิตเหมือนเรือน้อยล่องลอยอยู่
ต้องต่อสู้แรงลมประสมคลื่น 
ต้องทนทานหวานสู้อมขมสู้กลืน 
ต้องจำฝืนสู้ภัยไปทุกวัน 

เป็นการง่ายยิ้มได้ไม่ต้องฝืน 
เมื่อชีพชื่นเหมือนบรรเลงเพลงสวรรค์ 
แต่คนที่ควรชมนิยมกัน ต้องใจมั่นยิ้มได้เมื่อภัยมา