บางคนยังไม่มีช่องทางให้ทำชั่ว ก็ยังพอเป็นผู้เป็นคนอยู่ แต่พอมีช่องทางให้ทำชั่วแล้ว ก็ทำชั่วเอาเสียเฉยๆ แสดงให้เห็นว่าเขาไม่ได้ดีด้วยน้ำใจตัวเอง เพียงแต่ยังไม่สบโอกาสให้ทำชั่วได้เท่านั้น หรือเขาทนอำนาจของความเย้ายวนไม่ได้จึงทำชั่วเพรา่ะพ่ายแพ้ต่ออำนาจความอยากฝ่ายต่ำ
แต่คนดีที่ดีโดยสันดาน แม้จะมีช่องทางให้ทำชั่ว ก็ไม่ทำอย่างนี้น่าสรรเสริญ
เราอย่าเอาใจฝักใฝ่ในความคิดชั่ว
เพราะ "เมื่อเราฝักใฝ่ในสิ่งใด เราก็ง่ายที่จะทำสิ่งนั้น"
พระท่านจึงสอนเสมอว่า...
อย่าระคนคลุกคลีคนชั่ว ไม่เช่นนั้นเราจะเห็นความชั่วเป็นของเคยชิน เพราะเห็นคนรอบข้างทำเอาเสียง่าย ไม่นา่นหรอก เราจะกลายเป็นคนชั่วเหมือนเขา
เราจะสมาคมกับคนชั่วได้ก็เป็นไปแต่ในทางสอนเขาให้เป็นคนดี ถ้าเราทำไม่ได้อย่างนั้น อย่าไปสมาคมกับเขาเป็นดีที่สุด
แล้วเราต้องรู้จักปฏิเสธความชั่วเสียแต่ทีแรก มีหลักที่สอนกันมาเนิ่นนาน และหลายประเทศก็ยึดถือปฏิบัติกัน กล่าวคือ ถ้าเรามีอำนาจที่จะให้คุณให้โทษใครได้ ถ้ามีพ่อค้าหรือใครให้ของกำนัลแก่เรา เราอย่าได้รับเสียแต่คราวแรกแล้ว เราจะเคยตัวรับเขาอีก สุดท้ายเขาจะให้ของมีราคาแก่เรา ทำให้เราน้ำท่วมปากต้องช่วยเหลือเขาเพราะเห็นแก่ของกำนัล สุดท้ายเราก็จะกลายเป็นคนชั่วเพราะการอย่างนี้
มีเรื่องจริงทำนองนี้เกิดขึ้นเสมอ ตัวอย่างในประเทศญี่ปุ่นผู้พิพากษาถูกคนโฉดใช้แผนลวงอย่างนี้ แต่แรกก็ให้ของไม่มีราคาอะไร แต่ภายหลังเขยิบราคาค่าของที่นำมาให้ จนสุดท้ายด้วยความเคยชิน ผู้พิำพากษาคนนั้นก็รับสินบนจากเขาผู้นั้นเสีย
คนชั่วมักมีแผนแยบยลในการทำการ เราจะต้องรู้ทันเขาเพื่อเราจะได้ไม่ตกเป็นเหยื่อของเขา
แล้วสังเกตดูเถิด ถ้าเป็นข้าราชการแล้ว ไม่ว่าจะอยู่ในตำ่แหน่งใด ก็กล่าวได้ว่า สามารถให้คุณโทษแก่ผู้อื่นได้ จึงมีคนเลวจำนวนมากที่จะมาสมาคมด้วย การสมาคมของเขาเหล่านั้นจะหมายเป็นอื่นไปเสียไม่ได้เลย นอกไปเสียจากการเข้ามาเพื่อหาประโยชน์จากข้าราชการที่สามารถให้คุณให้โทษแก่เขาได้
ต้องเข้าใจกันว่า คนเราถ้ามีำกำลังน้อย ก็จะสามารถทำชั่วได้น้อย ได้รับบาปกรรมน้อย แต่ถ้ามีำกำลังมาก ก็จะสามารถทำชั่วได้มากขึ้น แล้วจะได้รับบาปกรรมเพื่อมากขึ้น
"ใครทำกรรมใดไว้ คนนั้นจะได้รับผลกรรมเสมอ"
แล้วด้วยจำนวนคนที่มากขึ้น โอกาสอันมากขึ้น ก็จะเป็นช่องทางให้ท่านผู้ใหญ่ ผู้มีอำนาจวาสนา อาจสามารถทำผิดได้มากขึ้น...
ที่มา : หนังสือยินดีกับชีวิต วิธีคิดต่อยอดสุภาษิตของท่านพุทธทาสภิกขุ